หมดปัญหาเรื่องรั่ว
พื้นหลังคาดาดฟ้ารั่วซึม
 
 


 หน้าฝนนี้ หากมีปัญหากับหลังคารั่ว พื้นรั่วซึม บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลารั่วซึม แก้ไขแทงค์น้ำเก่ารั่ว ขอแนะนำ
 การทำกันซึม ทั้งชนิดทาด้วยเคมีกันซึม และ

  การทำกันซึมโดยใช้แผ่น เมมเบรน ติดตั้ง

     แผ่นเมมเบรน เป็นวัสดุใช้ทำการป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ทำจากยาง Bitumen ที่เสริมด้วย APP ใช้ในงานทำกันซึมทั้ง บ่อน้ำ ถังน้ำ แทงค์เก็บน้ำ ดาดฟ้าอาคาร ถังน้ำใต้ดินและ งานโยธาทั่วไป

    ลักษณะทั่วไป เป็นแผ่นยางแข็ง หนา มีความยืดหยุ่น ทนอุณหภูมิสูง หรือแดดจัดได้ดีไม่หดตัวเมื่ออุณหภูมิต่ำ ไม่แตก กรอบหรือหักงอ
พื้นผิว     : ด้านบนเป็น PE, PP มีทั้งเรียบและสากเป็นเม็ดทราย หรือหินเกล็ด
            : ด้านล่างเป็นยางที่สามารถละลายได้เมื่อถูกไฟลนและจะ ยึดเกาะกับพื้นผิวของวัสดุที่ปูทับ
ความหนา  3มม.และ 4มม.
ใยเสริม     ใยโพลีเอสเตอร์ 160กรัม/ตรม.

      การติดตั้ง ใช้ไฟเป่าด้วยความร้อนจนผิวเริ่มละลายแล้วปูบนพื้นผิวที่จะติดตั้ง(ก่อนติดตั้งมีการทาน้ำยาในการเตรียมพื้นที่ ี่ผิวก่อนการปู)

    ข้อมูลทางเทคนิค
อุณหภูมิที่เริ่มละลาย    : 157 ํ c
ค่าแรงดึง                 : แนวยาว 800 N / 5cm.
                            : แนวขวาง 600 N / 5cm.
ค่าการยืดตัวของแผ่น   : 45% แนวยาว
                            : 54% แนวขวาง
ความยืดหยุ่น            : -5 ํ cไม่แตกร้าว
ค่าการยุบตัว             : L4 >25kg.
ค่าการซึมผ่านของน้ำ   : น้ำซึมผ่านไม่ได้

 

 

ขั้นตอนการทำ

1.ทำการเตรียมพื้นผิวที่จะปู โดยทำความสะอาดให้เกลี้ยงไม่ให้มีเศษผง หรือฝุ่นติดอยู่ จำเป็นต้องทำความสะอาดให้หมด เพราะจะทำให้น้ำยาไม่ติดกับ พื้นผิว หลังจากทำความสะอาดแล้วจึงทาน้ำยา รองพื้นเพื่อ เตรียมการปูแผ่นเมมเบรน น้ำยาจะช่วยยึดเกาะแผ่นเมมเบรนกับพื้นผิวให้ยึดเกาะแน่น

เตรียมพื้นที่ผิว

ทาน้ำยารองพื้น

บริเวณรอยต่อพื้นกับผนัง เป็นจุดที่ระวังเป็นพิเศษ ควรทาน้ำยาให้ทั่วถึง การทาต้องระวังไม่ให้เกิดฟองอากาศ

 

2.หลังทาน้ำยาได้ส่วนหนึ่ง ทำการกะขนาดของแผ่น ปูตามความยาวห้อง หรือ พื้นที่บ่อ ทิ้งเศษริมและรอยต่อผนังกับพื้นไว้ เชื่อมต่อภายหลัง ซึ่งการปูแผ่น
จำต้องอาศัยทักษะและความชำนาญของช่าง (ก่อนการปูแผ่นเมมเบรนต้องถูกเผาด้วยความร้อนแล้ว การพ่นไฟกะให้ได้ความพอดี หากร้อนไป แผ่นอาจจะทะลุด้วยไฟที่เป่า หากน้อยไปแผ่นอาจจะไม่เหนียวพอที่จะยึดเกาะ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญของช่าง )

ปูแผ่นเมเเบรน

ปูตามแนวยาว ทับซ้อนระหว่างแผ่น ทิ้งรอยต่อไว้เก็บภายหลัง ระยะซ้อนทับประมาณ 10ซม.

ปูแผ่นเมมเบรน

เริ่มเก็บรอยต่อโดยการตัดปะชิ้นส่วนของแผ่นเมมเบรนนำมาปะทับ ใช้มีดคัทเตอร์ ตัดแผ่นโดยวัดระยะตามต้องการ พ่นไฟที่แผ่นเมมเบรนก่อนการปู เมื่อปูแผ่นไปได้ส่วนหนึ่ง จึงค่อยทาน้ำยาต่อ เพื่อจะปูแผ่นเมมเบรนต่อไป การทาน้ำยา ไม่ทาทีเดียวทั่วทั้งพื้นที่


3.เป่าพ่นด้วยไฟความร้อนโดยประมาณบริเวณรอยต่อ

เป่าไฟ

เปาสไฟ

ขั้นตอนสุดท้ายไล่เป่าพ่นไฟทั่วทั้งบริเวณ และรีดให้เข้ารูป


4.หลังจากทำการปูเสร็จแล้วตรวจสภาพของแผ่นเมมเบรนทั้งหมด ให้อยู่ในสภาพเกาะยึดแน่น ไม่โป่งพองหรือ ขยับตัวได้ เมื่อแน่ใจแล้วทำการปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้ใช้งานหรือเดิน เหยียบย่ำทิ้งไว้ 1วัน แล้วจึงทำการทดสอบฉีดน้ำ ให้ท่วม ขังแชไว้ สังเกตุรอยรั่วซึม หากไม่มีก็พร้อมใช้งานได้เลย

testน้ำ

 

  คุณสมบัต ช่วยแก้ไขการรั่วซึม สำหรับพื้นปูน ผนังปูนที่มีรอยแตกร้าว และเกิดปัญหาน้ำรั่วซึม แก้ไขบ่อร้าว ถังเก็บน้ำรั่วซึม
  พื้นหลังคาดาดฟ้า รั่วซึม ดีกว่าการเทปูนทับพื้นเดิมหรือการปูกระเบื้องเพื่อแก้ไขปัญหารั่วซึม

 

 

 

 

ตัวอย่างผลงานการทำกันซึมด้วยแผ่นเมมเบรน

ทำกันซึมเมมเบรน

 

 

 

Home: Services : Portfolio : Gallery : Aboutus : Contacts

Kor-Sri Construcrion © 2009 • Privacy PolicyTerms Of Use